ถุงซองฟอยล์ มีการพิมพ์ทั้งหมดกี่ประเภท
ถุงซองฟอยล์ มีการพิมพ์ทั้งหมดกี่ประเภท
บรรจุภัณฑ์ถุงซองฟอยล์ ที่ได้รับการนิยมสั่งผลิตเป็นจำนวนมากได้แก่ ถุงซองฟอยล์แบบมีฝาจุก ถุงซองฟอยล์แบบฝาจุกเกลียว ถุงซองฟอยล์แบบซิปล็อค ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนขั้นต่ำในการผลิตไม่ได้สูงมาก เหมาะกับธุรกิจประเภท SME เป็นอย่างมาก เพื่อในการบรรจุจำพวก คอสเมติก เมคอัพ และบรรจุภัณฑ์อาหาร เนื่องจากมีความทนทาน สามารถป้องกันการรั่วซึมของอากาศและน้ำได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยเก็บรักษากลิ่นรวมถึงรสชาติของผลิตภัณฑ์ให้สมบูรณ์ ป้องกันแสงแดดได้เต็มประสิทธิภาพ เรียกได้ว่าถุงฟอยด์สามารถปกป้องผลิตภัณฑ์ที่ถูกบรรจุอยู่ให้คงสภาพดั้งเดิมได้เป็นระยะเวลานาน
การพิมพ์ถุงซองฟอยล์มีทั้งหมด 3 ประเภท
1. การพิมพ์แบบ flexographic
การพิมพ์ถุงซองฟอยล์ระบบเฟล็กโซ
หลักการพิมพ์ระบบเฟล็กโซนั้น แม่พิมพ์ทำด้วยยางบริเวณที่เกิดภาพจะนูน
การทำแม่พิมพ์จะต้องทำแม่พิมพ์บนสังกะสีก่อนแล้วจึงเอา bakelite ไปทาบนแผ่นสังกะสี ที่กัดกรดเป็นแม่พิมพ์เมื่อถ่ายแบบมาแล้วนำแผ่นยางไปอัดบน bakelite จึงจะได้ แม่พิมพ์ยางออกมา แม่พิมพ์ยาง ที่ได้เรียกว่า polymer plate ซึ่งเป็นยางสังเคราะห์ มีความเหมาะสมในการใช้งาน เพราะทนทานรับหมึกได้ดี หมึกที่ใช้เป็นหมึกเหลว อาจเป็นหมึกพิมพ์ระบบน้ำหรือตัวทำละลายก็ได้ มักแห้งตัวโดยการระเหย ต้องการแรงพิมพ์ต่ำเนื่องจากใช้แม่พิมพ์นุ่มและหมึกพิมพ์เหลว
ระบบการพิมพ์จะมีลูกกลิ้งยางจุ่มอยู่ในอ่างหมึก ทำให้ลูกกลิ้งถูกเคลือบด้วยหมึกแบบบางๆลูกกลิ้งจะพาหมึกมาติดที่ลูกกลิ้งเหล็ก(anilox roller ลักษณะเป็น ลูกกลิ้งกราเวียร์แต่มีสกีน (หลุมหมึก)ร้อยเปอร์เซนต์) ลูกกลิ้งเหล็กนี้จะถ่ายถอดหมึกไปให้ลูกกลิ้งที่มีแม่พิมพ์ยางหุ้มอีกลูกหนึ่ง ซึ่งลูกกลิ้งนี้จะเป็นลูกกลิ้งที่มีลักษณะนูนบริเวณที่รับภาพ จากนั้นแม่พิมพ์ยางจะถ่ายทอดหมึกลงบนผิว ของวัตถุ โดยมีลูกกลิ้งเหล็กอีกอันติดอยู่เป็นลูกกลิ้งกด คอยกดให้หมึกซึมไปที่ผิวของวัสดุอย่างทั่วถึง ภาพพิมพ์ที่ได้มีความคมชัดน้อย
การควบคุมคุณภาพการพิมพ์เฟล็กโซกราฟี มักควบคุมที่ปัญหาการพิมพ์เหลื่อม ปัญหาการพิมพ์เหลื่อมในการพิมพ์เฟล็กโซกราฟีเกิดจากการยืดตัวของแม่พิมพ์หรือวัสดุที่ใช้พิมพ์ ซึ่งต้องชดเชยการยืดตัวในขั้นตอนการทำอาร์ตเวิร์ก การปรับแก้ไขการยืดตัวเนื่องจาก แม่พิมพ์และวัสดุใช้พิมพ์ต้องใช้เวลามาก ถ้าใช้วัสดุใช้พิมพ์ต่างชนิดจะต้องควบคุมการพิมพ์เหลื่อมในลักษณะต่างกัน เพราะวัสดุใช้พิมพ์ที่ต่างกันจะมีการยืดตัวต่างกัน จึงต้องศึกษาลักษณะการยืดหดตัวของวัสดุใช้พิมพ์ประเภทต่างๆ เพื่อชดเชยในขั้นตอนการทำอาร์ตเวิร์ก บรรจุภัณฑ์ที่ทำด้วยระบบเฟล็กโซก็ได้แก่กล่องกระดาษลูกฟูก ถุงกระดาษ ถุงปูนซีเมนต์ ถุงใส่ปุ๋ย ถุงพลาสติกใหญ่ๆ กล่องนม UHT เป็นต้น
ข้อดีของการพิมพ์ด้วยระบบเฟล็กโซกราฟี ดังนี้ คือ
- แม่พิมพ์มีราคาถูกเมื่อเทียบกับการพิมพ์ในระบบอื่นๆ
- ผลิตสิ่งพิมพ์บนวัสดุสิ่งพิมพ์ได้หลากหลายประภท
- การเตรียมพร้อมพิมพ์ทำได้ง่ายและเสียค่าใช้จ่ายน้อย
- พิมพ์ภาพที่มีลวดลายต่อเนื่อง เช่น กระดาษห่อของขวัญ
- หมึกพิมพ์เป็นแบบชนิดเหลว แห้งเร็ว สามารถตรวจสอบคุณภาพได้ทันทีภายหลังการพิมพ์
- การกระจายของหมึกพิมพ์บนวัสดุพิมพ์ได้ดีมาก เนื่องจากหมึกมีลักษณะเหลวและแม่พิมพ์ยืดหยุ่นตัว
- การเก็บรักษาแม่พิมพ์มีวิธีและขั้นตอนการเก็บได้ง่าย
ข้อเสียของการพิมพ์ด้วยระบบเฟล็กโซกราฟี มีดังนี้ คือ
- เกิดการยืดตัวของแม่พิมพ์และวัสดุที่ใช้พิมพ์ ต้องมีการชดเชยการยืดตัวในขั้นตอนในการทำอาร์ตเวิร์ค
- การปรับแก้ไขการยืดตัวของแม่พิมพ์ทำได้ยากและใช้เวลามาก
- การควบคุมค่อนข้างเป็นไปยากมากซึ่งมีความแตกต่างของวัสดุแต่ละประเภทที่นำมาใช้เป็นวัสดุพิมพ์
- ภาพที่เกิดบนวัสดุที่ใช้พิมพ์จะมีความชัดเจนที่น้อยกว่าการพิมพ์ระบบอื่นๆ
2. การพิมพ์แบบ Gravure
การพิมพ์ถุงซองฟอยล์ระบบกราเวียร์
เป็นกรรมวิธีการพิมพ์แบบแม่พิมพ์ร่องลึก intaglio ซึ่งส่วนที่เป็นภาพ หรือลายเส้นที่พิมพ์ จะถูกกัดเจาะ เป็นหลุมเล็กๆจำนวนนับล้านหลุมเรียกว่า เซลล์ ซึ่งเป็นส่วนที่เก็บหมึกสำหรับที่จะพิมพ์ลงบนวัสดุต่างๆ ส่วนบริเวณที่ไม่ใช่ภาพ จะเป็นผิวเรียบ หลุมหมึกแต่ละหลุมแยกออกจากกันโดยผนัง ที่เรียกว่า cell wall หรือ land หลุมเล็กๆนี้จะเก็บหมึกไว้ในปริมาณที่ไม่เท่ากันแล้วแต่ขนาดของหลุมปริมาณหมึก ถ้าหลุมลึกหรือกว้างมากก็จะทำให้สีเข้มมากกว่าหลุมที่มีหมึกน้อย ทำให้สามารถพิมพ์ภาพที่มีโทนต่อเนื่องได้ หมึกพิมพ์ระบบนี้จะมีทั้งระบบโซลเว้นท์เบส (Solvent base) โดยที่หมึกพิมพ์จะมีความหนืดต่ำ และแห้งตัวด้วยวิธีการระเหย
แม่พิมพ์กราเวียร์นี้ทำมาจากเหล็กรูปทรงกระบอกซึ่งมีผิวชุบด้วยทองแดงลักษณะเป็นหลุมหมึกเล็กๆ ก็จะถูกกัดลงในชั้นของทองแดงนี้ หรือแม่พิมพ์อาจนำมาเป็นแผ่น แล้วนำมาหุ้มรอบลูกกลิ้งเหล็กอีกชั้นหนึ่งก็ได้
3. การพิมพ์แบบ Digital
การพิมพ์ถุงซองฟอยล์ระบบดิจิตอล
เป็นการพิมพ์ที่ใช้เครื่องพิมพ์ต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์ โดยรับข้อมูลภาพจากคอมพิวเตอร์มาพิมพ์ แต่ยังไม่สามารถสนองความต้องได้ครบถ้วน ทั้งด้านปริมาณ ,คุณภาพ ,เวลาทีใช้ในการพิมพ์ และยังทำความเร็วได้ทันความต้องการ รวมถึงสามารถพิมพ์ได้หลากหลายวัสดุ เช่น กระดาษปอนด์,กระดาษอาร์ตมัน, กระดาษมีลวดลาย, กระดาษหนาไม่เกิน 300 แกรม, สติกเกอร์ pvc ขุ่น-ใส, แผ่นใส, สติ๊กเกอร์วอยย์เปลือกไข่, ฉลากสินค้า, ซองฟอยล์ ,โฮโลแกรม ฯลฯ
ข้อดี ระบบการพิมพ์ดิจิตอล (Digital Printing)
- ประหยัดเวลาในการทำงานความสะดวกรวดเร็ว ลดขั้นตอนการทำฟิล์มและแม่พิมพ์ หากงานที่ต้องการนั้นเร่งด่วนก็เลือก แนะนำพิมพ์ระบบดิจิตอล
- แก้ไขงานได้ง่ายในกรณีที่ต้องการแก้ไขเนื้อหาข้อมูล ก็แค่ส่งไฟล์ใหม่มาแทนไฟล์เดิม ข้อมูลก็จะเป็นข้อมูลใหม่ แก้ไขได้ทันที
- ใช้งบประมาณน้อยกว่า (ในกรณีที่พิมพ์จำนวนน้อย) เพราะไม่ต้องทำเพลทพิมพ์ ซึ่งราคาโดยรวมเวลาจัดพิมพ์จะถูกกว่า
- ประหยัดทรัพยากร เหมาะกับงานพิมพ์จำนวนน้อย ลดของเสียในกระบวนการผลิต
- มาตรฐานงานพิมพ์ มีระบบการควบคุมคุณภาพงานพิมพ์เท่ากันในทุกๆ หน้า
- ผลิตตามจำนวนที่ต้องการ เหมาะสำหรับงานพิมพ์น้อยกว่า 3000 ชุด ไม่ต้องพิมพ์มากกว่าจำนวนที่ต้องการ มีความยืดหยุ่นในการทำงาน
Cr. JADEWISHCOSMETIC
Cr. packingsiam