5 เคล็ดลับ สร้างแบรนด์ให้ปัง ดังในโลกออนไลน์
5 เคล็ดลับ การสร้างแบรนด์ให้ปัง ดังในโลกออนไลน์
การจะสร้างแบรนด์ให้ปัง ไม่ใช่เรื่องยากแต่จะทำยังไงให้แบรนด์ของเราประสบความสำเร็จ และเป็นที่รู้จักต่างหาก นั้นเป็นเรื่องที่ยากพอสมควร ในยุคสมัยที่มีการแข่งขันทางธุรกิจที่เข้มข้นขึ้นทุกปี เนื่องจากมีผู้ค้ารายใหม่ ๆ เกิดขึ้นมาขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งแบรนด์ใหญ่ แบรนด์เล็ก ทำให้การแข่งขั้นในท้องตลาดนั้นดุเดือดขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะธุรกิจเครื่องสำอาง และอาหารเสริมที่กำลังเป็นที่เฟิ้องฟูและเป็นที่ต้องการของตลาด
ดังนั้นการสร้างแบรนด์ให้ปัง ในโลกออนไลน์ให้ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก เริ่มตั้งแต่กระบวนการผลิต การเลือกโรงงาน การเลือกบรรจุภัณฑ์ รวมไปถึงการทำ การตลาด ให้เป็นที่รู้จัก โดดเด่น และติดตลาด และนี่คือ 5 เคล็ดลับ กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้ปัง และประสบความสำเร็จ คุณเองก็ทำได้
1. กำหนดกลุ่มเป้าหมายของการสร้างแบรนด์ให้ชัดเจน
เราจะขายสินค้าให้กับใคร เราต้องรู้จักผู้บริโภคของเราว่าต้องการอะไร มีปัญหาอะไรกับสินค้าปัจจุบันที่เลือกใช้หรือไม่ นอกจากวิธีการเข้าไปสัมภาษณ์กลุ่มลูกค้าเป้าหมายตามที่แนะนำข้างต้นแล้ว วิธีการศึกษาผู้บริโภคยังมีอีกหลายทาง ยกตัวอย่าง จากการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคของกลุ่มผู้หญิงวัยรุ่นว่าส่วนใหญ่เป็นสิวช่วงไหน พบว่าส่วนมากจะเป็นสิวช่วงมีประจำเดือน ช่วงสอบ และเวลาเครียด จากนั้นก็ดู ว่าแบรนด์เราอยากเล่นกลุ่มไหน ยิ่งกลุ่มเป้าหมายเล็กเท่าไรยิ่งมีประสิทธิภาพเท่านั้น
การสร้างแบรนด์ให้ปัง ต้องเจาะลึกลงไปแต่ละกลุ่ม เพื่อให้สินค้าตรงความต้องการมากที่สุด
2. ศึกษาการตลาด
นอกจากจะมุ่งมั่นเข้าใจความต้องการลูกค้าแล้ว ต้องลองศึกษาแบรนด์ที่จับกลุ่มผู้บริโภคเดียวกัน ในราคาที่ใกล้เคียงกัน ลองติดตามเพจและความเคลื่อนไหวของแบรนด์คู่แข่งของเราเสมอ พยายามหาจุดแข็งและจุดอ่อน วิธีการทำตลาด วิธีการขาย การตอบคำถามลูกค้า รวมทั้งอ่านคำถาม คำติชมของลูกค้าแบรนด์คู่แข่ง เพราะนี่คือโอกาสให้เราได้เรียนรู้ข้อผิดพลาดของแบรนด์และความต้องการของลูกค้าได้แบบไม่ต้องลงทุนไปก่อน
เพื่อเป็นแนวทางให้เราเข้าใจธรรมชาติของธุรกิจประเภทนนี้มากขึ้น ช่วยให้เราสร้างแบรนด์ที่มีจุดยืนที่โดดเด่น แตกต่างจากคู่แข่ง และมีจุดขายเฉพาะตัวของแบรนด์เรานั้นเอง
3. การสร้างแบรนด์ต้องมีความแตกต่าง
ผลิตภัณฑ์ที่ดี และมีความโดดเด่นเฉพาะตัว ความโดดเด่นของผลิตภัณฑ์นั้นโดยรวมแล้วสามารถพัฒนาได้ 2 แบบ คือ
- ใช้ความแตกต่างของผลิตภัณฑ์เป็นจุดขาย
- ใช้ความแตกต่างของคอนเซ็ปต์แบรนด์เป็นจุดขาย
ซึ่งทั้งสองแบบนั้น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ก็แตกต่างกัน หากคุณเลือกที่จะขายผลิตภัณฑ์ที่แตกต่าง ขั้นตอนการพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์นั้นต้องเริ่มตั้งแต่
- สร้างคอนเซ็ปต์ของสินค้า จุดขายของสินค้าคืออะไร
- พัฒนาสูตรสินค้า
- แพคเกจจิ้ง ที่แตกต่าง ไม่เหมือนใคร
- ทดสอบผลิตภัณฑ์กับคนหลายๆ กลุ่ม เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นนำไปปรับปรุง
ซึ่งขั้นตอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์จนได้สูตรที่ลงตัวอาจจะใช้เวลานาน ขั้นตอนนี้ควรจะต้องทำงานร่วมกับแลปทดลอง หรือบริษัท OEM ที่ได้มาตรฐาน
4. สร้างการตลาดของแบรนด์ โดยเพิ่ม จุดขาย และสโลแกนให้กับแบรนด์ของของตัวเอง
การทำธุรกิจนอกจากการสร้าง “แบรนด์” สินค้าแล้ว การคิดและสร้าง “ สโลแกน ” สินค้าให้โดนใจลูกค้ายังมีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะสโลแกนมีส่วนช่วยให้ลูกค้าจดจำชื่อแบรนด์สินค้าได้ ยิ่งถ้าสโลแกนสินค้าไหนติดปากผู้บริโภคก็จะช่วยให้สินค้าติดใจผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น แต่การสร้างสโลแกนให้ลูกค้าจดจำและโดนใจอาจไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่ายนัก บางครั้งต้องใช้การตลาดและโฆษณาเข้ามาช่วย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากสำหรับยุคปัจจุบัน กลยุทธ์การสร้าง “ สโลแกน ” ให้โดนใจลูกค้ามาให้เจ้าของธุรกิจต่างๆ ได้พิจารณา พร้อมทั้งมีแบบทดสอบออนไลน์การรับรู้และจดจำสโลแกนของแบรนด์ต่างๆ
โดยการตั้งสโลแกนให้ติดปากผู้บริโภคควรมีหลักการสำคัญดังนี้
- ข้อความจดจำง่าย ได้ยินแล้วพูดซ้ำได้เลย
“รักคุณเท่าฟ้า” ของการบินไทย “หิวเมื่อไหร่ก็แวะมา” ของเซเว่นฯ คือเมื่อฟังแล้วไม่ทำให้สับสนวกวน เป็นคำแบบเข้าใจง่าย เหมือนกับเป็นคำที่ใช้กันในชีวิตประจำวัน
- ข้อความสั้นและกระชับ
สโลแกนยาวเกินไปก็จำยาก เอาสั้นๆ ให้กระชับและได้ใจความ ไม่ควรเกิน 10 พยางค์ : “ลูกผู้ชายตัวจริง” ของกระทิงแดง “เค็มแต่ดี” ของยาสีฟันซอลส์
- สื่อความหมาย
ต้องมีสิ่งที่บอกว่าเป็นธุรกิจเกี่ยวกับอะไร : “ลืมได้เลยว่ามีรังแคร์” ของแบรนด์เฮดแอนด์โชว์เดอร์ ซึ่งสื่อความหมายออกมาว่าเป็นธุรกิจเกี่ยวกับดูแลเส้นผมและศีรษะ
- แตกต่าง
แสดงให้เห็นว่าเราแตกต่างจากคู่แข่งรายอื่นอย่างไร : “ละลายได้ในปาก แต่ไม่ละลายในมือ” เป็นสโลแกนของแบรนด์ขนม M&M ที่ต้องการฉีกตัวเองให้แตกต่างจากคู่แข่งในธุรกิจเดียวกัน เพราะผลิตภัณฑ์ขนมในท้องตลาดมีมากมายหลายยี่ห้อ ใครไม่แตกต่างก็จะไม่เป็นที่จดจำ และติดใจลูกค้า
- แสดงออกด้านบวก
ฟังแล้วเกิดความรู้สึกดีต่อแบรนด์ : “กินแล้วภาคภูมิใจเบียร์คนไทยทำเอง” สโลแกนของเบียร์ช้าง “เมืองไทยของเรา เบียร์ไทยของเรา” สโลแกนเบียร์สิงห์ ซึ่งเมื่อฟังแล้วจะรู้สึกถึงความภูมิใจที่เกิดเป็นคนไทย สะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคมีความชื่นชมในแบรนด์สินค้าดังกล่าว ทั้งที่ชื่อแบรนด์สินค้าดังกล่าวไม่ค่อยจะดี
6. มีเอกลักษณ์ อย่าไปลอกคนอื่น
หรือใช้คำซ้ำซาก : “ต้ม ผัด แกง ทอด หอมอร่อยในพริบตา” สโลแกนผลิตภัณฑ์รสดี เมื่อฟังแล้วจะจดจำได้ง่าย มีความไหลลื่นของภาษาและสำนวนที่ไปในทิศทางเดียวกัน เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว หรือจะเป็น “ไม่มีลิมิตชีวิตเกิน 100” บ่งบอกถึงความเป็นเอกลักษณ์แบรนด์เครื่องดื่ม M 150
- เฉพาะเจาะจง
ระวังประโยคที่ดูกว้างเกินไปจนผู้ฟังอาจไม่รู้ว่าธุรกิจของเราเกี่ยวกับอะไร : “ใครๆ ก็บินได้” สโลแกนของสายการบินแอร์เอเชีย ซึ่งเป็นการบอกไปเลยว่าธุรกิจของตัวเองทำเกี่ยวกับอะไร หรือจะเป็น “ยาดมโป๊ยเซียน ใช้ดม ช้า ในหลอดเดียวกัน” สื่อได้ชัดเจนเลยว่าเป็นสินค้าอะไร
8. โดดเด่น สะดุดตาสะดุดหูจนต้องหยุดอ่านหรือหยุดฟัง
“เค็ม…แต่ดี” สโลแกนสินค้ายาสีฟันซอลต์ ที่เมื่อฟังแล้วจะรู้สึกว่าเป็นสินค้าอะไร ที่มีรสเค็มๆ แต่ดี ทำให้อยากรู้อยากเห็น
- จูงใจ ทำให้คนเชื่อที่สิ่งที่นำเสนอ
“เราให้คุณมากกว่าคำว่าถูก” สโลแกนของบิ๊กซีที่พยายามโน้มน้าว ชักจูงให้ลูกค้าเชื่อว่า นอกจากสินค้าภายในห้างของเขาจะถูกแล้ว ยังมีสินค้าทุกอย่างที่ลูกค้าต้องการ ซึ่งถือเป็นสโลแกนที่ทำให้ลูกค้าเชื่อและจูงใจให้มาซื้อสินค้าที่ห้างของเขาได้ง่าย
- น่าเชื่อถือ
สะท้อนลักษณะเด่นที่ฟังดูเป็นไปได้ : คำสัญญา คุณสมบัติพิเศษ : “รักคุณเท่าฟ้า” สโลแกนของการบินไทย ที่มุ่งเน้นการให้บริการที่ประทับใจ รักลูกค้าทุกคนที่ใช้บริการเท่าฟ้า หรือ ธนาคารกสิกรไทยที่ใช้สโลแกน “บริการทุกระดับประทับใจ” เขาต้องการสื่อให้เห็นว่าลูกค้าคือคนพิเศษเสมอ สังเกตได้ว่าเมื่อเดินเข้าไปธนาคารกสิกรไทยไม่ว่าจะสาขาใดก็ตาม ก็จะมีพนักงานมายืนรอต้อนรับลูกค้าเสมอ เห็นได้ว่าการสร้างสโลแกนสินค้าอาจไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำให้ผู้บริโภคจดจำและติดใจสินค้าได้ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากอะไร แต่สิ่งสำคัญกว่าคือสินค้าของคุณมีคุณภาพหรือเปล่า เพราะถ้าไม่มีคุณภาพ ลูกค้าไม่ชอบ การที่มีสโลแกนดีๆ โดดเด่น เตะตาก็คงจะไม่มีประโยชน์อะไร
5. กำหนดวิธีการสื่อสารของการสร้างแบรนด์
ลองนึกถึงว่าแบรนด์ของเราจะมีบุคลิกที่แสดงออกไปต่อลูกค้าอย่างไร เช่น เป็นแบรนด์ที่ดูมืออาชีพ หรือจะดูเป็นมิตร เน้นบริการเป็นเลิศ เป็นต้น ซึ่งมันก็คืออยู่กลุ่มลูกค้าที่เราสนใจ คุณค่าที่เราตั้งใจจะให้กับแบรนด์ และลักษณะของธุรกิจด้วย
ถ้าจะให้ยกตัวอย่างง่ายๆ ลองนึกประกันภัย แบรนด์ต่างๆจะเน้นความเป็นมืออาชีพ เพราะรูปแบบธุรกิจต้องการความน่าเชื่อถือ มั่นคง แต่เค้าก็จะมีจุดยืน และวิธีการสื่อสารไปยังลูกค้าที่แตกต่างกัน บางแบรนด์อาจเน้นความซึ้ง ประทับใจ ให้เห็นคุณค่าของชีวิต, บางแบรนด์อยากนำเสนอเรื่องความเป็นมิตร ความเข้าใจลูกค้า การรับฟัง ไม่ทอดทิ้ง ส่วนบางแบรนด์ก็สื่อสารออกมาใหนเรื่องความสนุกสนานในการใช้ชีวิต มีโฆษณาตลกๆออกมา
การสร้างแบรนด์ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมาก นับเป็นศาสตร์ที่ต้องใช้เวลาและความใส่ใจ เวลาที่เราเห็นแบรนด์เจ๋งๆ เมื่อดูดีๆ จะพบว่าเค้ามีรายละเอียด เรื่องราวที่มาที่ไปมายมากจนทำให้แบรนด์ออกมาน่าสนใจ ส่วนสุดท้ายนี้การที่แบรนด์จะออกมาดีและยืนยาว ผู้ดูแลก็ต้องใส่ใจไปในผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพดี ตอบโจทย์ รวมทั้งมีความจริงใจกับผู้บริโภคด้วยค่ะ เพียงเท่านี้ ต่อให้มีคู่แข่งที่ขายของแบบเดียวกับเราเข้ามาในราคาที่ถูกกว่า แต่คนก็จะยังเลือกซื้อแบรนด์ที่เค้ารู้จักและมั่นใจกว่าอยู่ดีนั่นเอง
cr. JADEWISHCOSMETIC
cr. thaismescenter